วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

การแปรรูปสละ

สละอบแห้ง

การแปรรูปสละนอกจากสละลอยแก้วแล้วยังมีการแปรรูปอย่างอื่นอีก คือ "สละอบแห้ง"



เคล็ดลับในการทำผลไม้อบแห้ง
1. สละที่จะนำไปอบแห้งอาจเป็นผลไม้ที่สุกหรือสุกมากก็ได้ รวมถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี

2. นำสละไปล้างในน้ำเย็น ทำความสะอาดให้สะอาดเสียก่อน

3. หั่นผลไม้เป็นชิ้น ๆ ที่มีขนาดเท่า ๆ กันเพื่อที่เวลาอบออกมาจะได้แห้งพร้อมกัน

4. ผลไม้บางชนิดที่ต้องปอกเปลือกและเอาเม็ดออกเวลาทาน เช่น แอปเปิล ลูกพืช เป็นต้น ถ้าต้องการนำมาอบแห้งควรใช้มีดบั้งทำเป็นเครื่องหมายกากบาท (x) ด้านบน แล้วคว้านเม็ดออกมา เสร็จแล้วก็นำลงไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 30 วินาที

5. นำสละไปแช่ในอ่างน้ำแข็งจะช่วยให้ผิวของผลไม้ลื่นหลุดออกมาได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้มีดปอกเปลือก

6. ถ้าต้องการให้สละสดที่ปอกเปลือกออกมาแล้วดูสวยและสีไม่เปลี่ยน ควรแช่ไว้ในน้ำเปล่าผสมน้ำมะนาว ประมาณ 10 นาที แล้วนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำ และซับน้ำออกด้วยกระดาษอเนกประสงค์

7. เปิดเตาอบที่อุณหภูมิ 130-160 องศาฟาเรนไฮต์ ควรใช้อุณหภูมิต่ำสำหรับสละที่หั่นบาง ๆ เช่น แอปเปิลหรือลูกพีช ส่วนสตรอว์เบอร์รีและผลไม้ตระกูลเบอร์รีสามารถใช้อุณหภูมิสูงได้ เสร็จแล้วนำมาวางเกลี่ยให้กระจายบนถาดซิลิโคนหรือภาชนะทนความร้อนที่ปูแผ่นกระดาษรองอบไว้แล้ว นำสลเข้าเตาอบและนำออกมากลับด้านทุก 2 ชั่วโมง (ถ้าผลไม้มีชิ้นที่บางลง และจับแล้วมีลักษณะนิ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นอันใช้ได้)


วิธีเก็บรักษาผลไม้อบแห้ง
1. เมื่อนำผลไม้อบแห้งออกจากเตาอบแล้ว ควรบรรจุในโหลแก้วหรือภาชนะพลาสติก และเปิดฝาไว้ประมาณ 4-5 วัน เพื่อให้ความชื้นระเหยออกมา และเขย่าภาชนะทุกวันเพื่อให้ผลไม้อบแห้งโดนอากาศให้ทั่ว

2. หลังจากผ่านพ้นไป 5 วัน ก็สามารถปิดฝาภาชนะได้ ระยะเวลาการเก็บผลไม้อบแห้ง ประมาณ 10 เดือน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทำสละอบแห้ง

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง


การปลูกสละ

การปลูกสละ
1. การเตรียมแปลง

แปลงปลูกสละไม่ควรมีน้ำท่วมขัง แต่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง ในพื้นที่ดอนควรมีระบบน้ำที่สามารถให้เพียงพอ ส่วนพื้นที่ล่มที่อาจเสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง ให้ขุดแนวร่องระบายน้ำในแปลงออกสู่ที่ต่ำของแปลง โดยขุดร่องล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

การเตรียมแปลงเริ่มด้วยการปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ สำหรับพื้นที่ลุ่มควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยในด้านใดด้านหนึ่ง ทำการไถพรวนดิน และตากดินนาน 7-14 วัน กำจัดวัชพืช หลังจากนั้น หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 3-5 ตัน/ไร่ พร้อมไถพรวนดินให้ร่วนซุยออกอีกครั้ง

2. วิธีปลูก

การปลูกนิยมปลูกด้วยเมล็ดที่เพาะในถุงเพาะชำ โดยให้ต้นพันธุ์สูงประมาณ 30 เซนติเมตรหรือมากกว่า ทำการขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โรยก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกร่วมกับหินฟอสเฟตหรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เล็กน้อย ระยะปลูก 4 x 4 เมตร 1 ไร่จะได้ประมาณ 400 ต้น หลุมปลูกใช้ต้นพันธุ์ 1-2 ต้นหรือเพียง 1 ต้น


3. การดูแลรักษา

• การใส่ปุ๋ย

– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-3 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะ 1 ปี แรก อัตรา 3-5 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะ 2 ปี ขึ้นไป โดยใส่ 2-4 ครั้ง/ปี

– ปุ๋ยคอก อัตรา 5-10 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะ 1 ปี แรก อัตรา 20-30 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี


• การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณ 80-100 ลิตร/กอ/วัน โดยระบบให้น้ำหยดจะยิ่งประหยัดขึ้น


• การตัดแต่งใบ ดอก และไว้หน่อ

– สะละที่ให้ผลผลิตแล้ว ให้ไว้ทางใบ 15-20 ทางใบ โดยตัดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ทางใบที่ตัดให้นำมาคลุมโคนต้นเป็นปุ๋ยต่อ

– สละอายุได้ประมาณ 1 ปี ควรไว้หน่อเพียงหน่อเดียว

– สะละมีอายุ 7-8 ปี หรือต้นสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร อาจขุดต้นแม่ออก แต่ควรไว้หน่อลูกให้โต โดยวางแผนการขุดออกไว้ล่วงหน้า


การเก็บผลผลิต
– อายุสละมีเหมาะต่อการเก็บผล คือ ประมาณ 9 เดือน หลังดอกบาน

– ผลสละที่เหมาะต่อการเก็บจะมีสีเปลือกเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวแตกลายคล้ายเกล็ดงู หรือ บีบผลแล้วรู้สึกว่านิ่ม เมื่อปลิดผลจะหลุดออกง่าย


สละ

🌠สละ

สละ จัดเป็นผลไม้ที่นิยมรับประมาณชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้เนื้อนุ่ม มีรสหวาน ออกเปรี้ยวเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ให้ผลผลิตต่อเนื่อง



สละเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ อุดมด้วยสารอาหารหลายชนิด ได้แก่ กรดอินทรีย์ น้ำตาล วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารอื่นๆ มีสรรพคุณบำรุงกระดูก และฟัน ช่วยขับเสมหะ และแก้เลือดกำเดา สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น สละลอยแก้ว น้ำสละ สละกวน ไวน์สละ และ น้ำพริกสละ แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ สละลอยแก้ว


สละ (Sala) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Salacca edulis Reinwจัดเป็นพืชในสกุลระกำ (Salacca) มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียพบมากในจีน ไทย พม่า มาเลเชีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย เป็นพืชประจำถิ่นในแถบพื้นที่ติดทะเลจึงพบเห็นได้มากแถวจังหวัดที่ติดทะเล


ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ราก

รากสละเป็นระบบรากฝอยอย่างเดียวเหมือนกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ รากจะแตกออกจากบริเวณโคนเหง้าเหนือดิน เพื่อเป็นรากค้ำยันหรือที่เรียกว่ารากอากาศ ส่วนรากส่วนมากจะแตกออกจากเหง้าใต้ดินแทงออกในแนวขนานกับดินยาวได้มากกว่า 2 เมตร


ลำต้น

ลำต้นเป็นแกนอยู่ด้านในที่หุ้มด้วยกาบใบ เป็นข้อๆ ในตำแหน่งใบที่แตกออก ลำต้นมีความสูง 3-7 เมตร


ใบ และก้านใบ

ใบประกอบด้วยใบย่อยที่แตกออกจากก้านใบ คล้ายใบมะพร้าว ยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบอ่อนที่แตกออกจากยอดใหม่จะห่อรวมกัน เรียกว่า ใบรูปหอก ที่แทงออกจากกลางยอด เมื่อแก่จะแผ่คลี่ออกเป็นใบ และใบย่อย ใบมีลักษณะอ่อน และลู่มากกว่าใบระกำ ปลายใบมีหนามขนาดเล็กที่ขอบใบ ใบมีลักษณะโค้งลงบริเวณกลางใบจนถึงปลายใบ ส่วนบนมีลักษณะเว้าลงเป็นร่อง ก้านใบแตกออกบริเวณแกนลำต้นจะมีหนามแหลมจำนวนมากทั่วลำก้าน ก้านใบที่แก่ และเหี่ยวตายจะไม่ร่วงหลุดออกจากต้น แต่จะค่อยๆกรอบผุไปเรื่อยๆ


ดอก และผล

ช่อดอกแทงออกจากกาบใบหรือระหว่างชั้นของโคนกาบใบ มีลักษณะยาวอ่อนลู่ลงสู่ดินหรือทอดนอนตามพื้นดิน เรียกว่า ทะลายดอก ช่อดอกออกจะมีกาบหุ้ม และคลี่ออกเมื่อดอกแก่ แต่กาบดอกยังติดอยู่ที่ช่อดอก ทะลายดอกประกอบด้วยช่อดอก แต่ละทะลายจะมีช่อดอกประมาณ 3-15 ช่อดอก ในช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ไม่มีก้านดอก ดอกติดกับแกนช่อดอกแน่น โดย 1 ช่อดอกจะนับเป็น 1 กระปุกผล ระยะการบานของดอกประมาณ 3 วัน สละ 1 ต้น จะให้ทะลายดอกประมาณ 9-12 ทะลาย


ช่อดอกสละแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ช่อดอกต้นเพศผู้ และช่อดอกต้นเพศเมีย ช่อดอกต้นเพศผู้จะประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกประกอบด้วยกลีบรอง และกลีบดอกสีแดง อย่างละ 3 กลีบ มีจำนวนเกสรเพศผู้ประมาณ 6 อัน ทำหน้าที่ผลิตละอองเรณู ถือเป็นดอกที่ไม่มีเกสรเพสเมีย


ช่อดอกต้นเพศเมีย ประกอบด้วยดอกเพศสมบูรณ์เพศ และดอกเพศผู้ ดอกสมบูรณ์เพศ (Hermaphrodite flower) ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย และเกสรเพศผู้มีกลีบรอง และกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ กลีบรองดอกมีสีชมพู กลีบดอกมีสีแดง รังไข่มีสีน้ำตาลปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม เกสรเพศผู้มีประมาณ 5-6 อัน แต่ไม่สามารถผลิตละอองเรณูได้ ต้องอาศัยเกสรตัวผู้จากช่อดอกต้นเพศผู้


ดอกเพศผู้ (Stamiate flower) มีลักษณะเหมือนกับดอกจากดอกต้นเพศผู้ เกสรเพศผู้มีประมาณ 5-6 อัน เป็นดอกเพศผู้ที่ไม่สามารถผลิตละอองเรณูได้


สละที่มีถิ่นกำเนิดในไทยมี 4 ชนิด

1. สละหม้อ

ในอดีตพบประวัติการปลูกแถววัดไทร วัดดอกไม้ และวัดด่าน ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร (ถนนพระราม 3) มีลักษณะทางใบเล็กกว่าระกำ ใบสั้น ผลยาวกว่าระกำ ก้นผลมีจะงอย สีเปลือกเข้มสีน้ำตาลแดง ให้รสหวานกว่าระกำ เนื้อหนา ฉํ่านํ้า เมล็ดสีเหลืองอ่อนกว่าเมล็ดระกำ ทะลายหนึ่งมีประมาณ 5-8 กระปุก ผลมี 2-3 กลีบ เช่นเดียวกับระกำ ปัจจุบันมีการปลูกในบางจังหวัด เช่น เพชรบูรณ์


2. สละเสน

เป็นพันธุ์ที่ไม่พบแล้วในปัจจุบัน และคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ลำต้นมีลักษณะขึ้นเป็นกอเช่นเดียวกับระกำ แตกกอมาก โตเร็ว ผลสีแดงสด เนื้อบาง มีความหวานน้อยกว่าสละอีก 2 พันธุ์


3. สละเนินวง

เป็นพันธุ์สละที่นิยมปลูกมากที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคตะวันออก เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของ ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี มีประวัติปลูกกันมานาน 100 กว่าปีแล้ว โดยผู้ปลูกคนแรก ชื่อ นางมิ ที่ได้นำเมล็ดมาจากกรุงเทพฯ (คาดว่าเป็นสละหม้อ) สละเนินวงมีลำต้นอยู่ใต้ดินหรือโผล่ขึ้นบนผิวดิน เล็กน้อยที่หุ้มด้วยกาบใบ การกระจายพันธุ์มีลักษณะขึ้นเป็นกอกระจายตัวไม่แน่น (คล้ายระกำ ) ใบยาว และอ่อนลู่มากกว่าระกำ แต่มีรูปร่างคล้ายกัน ออกผลเป็นทะลาย หนึ่งทะลายมี 3-7 กระปุก ผลอ่อนมีสีนํ้าตาลไหม้ เมื่อสุกสีนํ้าตาลแดงเข้ม ผลรูปทรงยาวจากหัวท้าย คล้ายกระสวย เปลือกมีลักษณะเป็นเกล็ดเรียงซ้อนกัน ปกคลุมด้วยหนาม ปลายหนามงอนไปทางท้ายผล ผลมี 1-3 กลีบ เมื่อดิบมีรสฝาด และเปรี้ยวเช่นเดียวกับระกำ เมื่อสุกจะให้รสหวานฉํ่า และเข้มข้นมากกว่าระกำ เนื้อแน่น หนา กลิ่นหอม เมล็ดมีขนาดเล็ก เติบโตได้ทั้งในที่ดอน และที่ลุ่ม แต่ปลูกในที่ลุ่มให้ผลผลิตดีกว่า


ผลสละเนินวงมีระยะการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เริ่มระยะติดผลรุ่นแรกจะใช้เวลาประมาณ 9-10 เดือน การเจริญเติบโตของผลในช่วง 1-5 เดือน ค่อนข้างช้ามาก เมื่อเข้าเดือนที่ 6 ผลเริ่มมีการขยายขนาดอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเดือนที่ 8 และสุกในช่วงประมาณเดือนที่ 9 และสามารถเก็บผล


การผสมเกสรจะเริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไป ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บผลสละ เนื่องจากฝนยังไม่ชุก


ผลผลิตสละจะมีมากในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้เกือบทุกวัน และผลผลิตจะค่อยหมดในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ผลสละที่เก็บในช่วงฝนตกชุกจะทำให้ผลสละมีความหวานน้อยลง และเน่าได้ง่าย

4. พันธุ์สุมาลี

เป็นสละพันธุ์ใหม่ล่าสุดของไทย มีลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวสีเขียวอมเหลือง ใบกว้าง ปลายใบสั้นกว่าสละเนินวง หนามอ่อนมีสีส้มอ่อน ช่อดอกใหญ่ ยาว ติดผลง่าย ผลป้อมสั้น สีเปลือกเนื้อคล้ายสะละเนินวง ให้เนื้อหนา แต่บางกว่าสละเนินวง มีรสหวาน กลิ่นหอมเฉพาะ เมล็ดมีขนาดเล็กเหมือนสละเนินวง ทนต่อสภาพแสงแดดจัด และแห้งแล้งได้ดีกว่าสละเนินวง

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

พันธุ์ของสละ

พันธ์ุสละที่ปลูกในประเทศไทย (Salacca Zalacca)


1.พันธ์เนินวง ถือว่าเป็นพันธ์ุที่ปลูกดั้งเดิม ที่ปลูกในจังหวัดจันทบุรี เริ่มปลูกในไทยยาวนานมากว่า 100 ปี ผลสละเนินวงเป็นรูปทรงยาวคล้ายกระสวย หนามยาว ใน 1 ผลจะ มีเม็ดประมาน 1-3 กลีบ มีรสชาติฝาดเปรี้ยวตอนดิบ รสหวานเปรี้ยว จะฉ่ำเข้มข้นกว่าระกำ เนื้อแน่น เม็ดเล็ก กลิ่นหอม ปลูกได้ในพื้นที่ดอน ให้ผลผลิตดีกว่าในการปลูกในที่ลุ่ม
:: ข้อเสีย:: ของสละเนินวง ผลสละช่วงหัวจะยุบและดำ
ไม่นิยมนำไปคว้านเม็ดทำสละลอยแก้ว ทีเป็นที่นิยมและต้องการ เพราะเม็ดไม่สวย ทานผลสดความหวานกรอบจะน้อยกว่าสละสุมาลี 


2.สละพันธ์หม้อ
เนื้อจะหวานกว่าระกำ เล็กน้อย ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของตลาด อาจจะมีอนุรักษ์พันธุ์ในการปลูกไว้บ้างตามสวนของเกษตรกรบ้าง

3.พันธ์สุมาลี ในตลาดเมืองไทยปัจจุบัน สละพันธ์สุมาลี ถือเป็นพืชเศษฐกิจ ที่มีตลาดกว้างขวางมาก ด้วยคุณลักษณะที่เด่น ตรงตามความต้องการของตลาด ด้วยรสชาติหวานหอมเนื้อเยอะเม็ดเล็ก เนื้อแน่นหวานกรอบ ผลสวย พันธ์ุต้นปลูกทนแดดได้ดี ปลุูกกลางที่แจ้งได้ ทีสำคัญคือ ออกลูกดกต่อเนื่องตลอดทั้งปี
"ข้อเสียของสละพันธ์สุมาลี" คือ ลูกสละค่อนข้างบอบบางอ่อนไหว ไม่ค่อยจะสู้กับเชื้อโรคเชื้อราของพืช



4.สละพันธ์อินโด ( Indonesia )
หรือ สละสายน้ำผึ้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ ลูกโตขนาดใหญ่ ลูกกลม ผลเมื่อสุกออกสีดำเข้ม เนื้อเยอะ เม็ดเล็ก เนื้อหวานกรอบมีรสชาติหวานที่สำคัญคือเม็ดร่อนจากเนื้อ ปัจจุบันเป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการเป็นอย่างสูง ทั้งผลสละ และการเพาะพันธุ์ต้นกล้าสละ ปัจจุบัน กิโลละ 300-400 บาท



ประโยชน์ของสละ

ประโยชน์ของสละ

💗 1. อัดแน่นด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

สละ เป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยมีการศึกษาในมหาวิทยาลัย Sabah ของมาเลเซียซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Nutrition & Food Science พบว่า ในสละมีสารฟีโนลิก และสารฟลาโวนอยด์ อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ โรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์จากสารอนุมูลอิสระ รวมทั้งชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย

💗 2. บำรุงสายตา

สารเบต้า-แคโรทีนที่อยู่ในสละ เป็นสารที่ช่วยบำรุงสายตา ว่ากันว่าระดับสารเบต้า-แคโรทีนในสละนั้นสามารถทดแทนการรับประทานแครอทได้เลยเชียวล่ะ นอกจากนี้วิตามินเอในสละ ก็ยังช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน เพิ่มความคมชัดในการมองเห็นสำหรับผู้ที่มีอาการสายตาสั้น แต่ก็ใช่ว่ารับประทานบ่อย ๆ แล้วจะทำให้คนสายตาสั้นไม่ต้องใส่แว่นนะคะ เพราะการรับประทานสละก็ไม่ได้ทำให้หายขาดจากสายตาสั้น เพียงแต่ช่วยเพิ่มการมองเห็นที่ดีขึ้นเท่านั้นค่ะ

💗 3. ช่วยให้อิ่มอยู่ท้อง

สละเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่ดีสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ แทนนิน หรือวิตามินซี ทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วนอกจากจะได้ประโยชน์ ก็ยังช่วยให้อยู่ท้องไปไม่รับประทานจุบจิบ อีกทั้งยังกระตุ้นระบบการทำงานของลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การลดน้ำหนักได้ผลมากขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของปริมาณ เพราะสละเป็นผลไม้ที่มีแคลอรีสูงเช่นกัน โดยสละ มีปริมาณแคลอรีอยู่ที่ 60 แคลอรีต่อ 100 กรัม ที่แคลอรีสูงก็เพราะว่าสละนั้นมีน้ำตาลสูง ดังนั้นต้องรับประทานแต่พอเหมาะ ถ้ารับประทานมาก ๆ อาจจะอ้วนได้

💗 4. รักษาอาการท้องเสีย

เราอาจจะได้ยินมามากว่าเวลาท้องเสียเราไม่ควรรับประทานอะไรนอกจากอาหารอ่อน ๆ แต่ขอบอกว่าการรับประทานสละสามารถช่วยบรรเทาอาการได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยาแก้ท้องเสียแต่อย่างใด ถือเป็นผลไม้ที่พิเศษอย่างหนึ่งเลยเชียวล่ะ

💗 5. บำรุงสมอง

สละ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผลไม้ที่ช่วยบำรุงสมอง เนื่องจากในสละนั้นมีโพแทสเซียมและสารเพคตินสูง ช่วยบำรุงสมองในส่วนของความจำให้สมองใสปิ๊ง นึกอะไรก็ออก ใครที่ชอบมีปัญหาเรื่องความจำก็สามารถรับประทานสละเข้าไปเสริมกับอาหารอื่น ๆ ได้ค่ะ

💗 6.บรรเทาความเหน็ดเหนื่อย

วิตามินเอในสละ นอกจากจะบำรุงสายตาได้แล้ว ก็ยังสามารถช่วยบรรเทาอาการเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหรือเล่นกีฬาได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบภายในร่างกายที่เกิดมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งถ้าหากคุณไม่ชอบรับประทานสด ๆ ก็สามารถนำมาคั้นดื่มเป็นน้ำได้นะ แต่ก็อย่าเติมน้ำตาลมากไป เดี๋ยวจะหวานเกินไปพาลทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งปรี๊ดเสียเปล่า ๆ

💗 7.ลดอาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก
ใครที่มีอาการของกรดไหลย้อน หรืออาการแสบร้อนกลางอก สละสามารถช่วยคุณได้ค่ะ แค่เพียงรับประทานสละกับน้ำผึ้ง ก็จะช่วยให้อาการแสบร้อนดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะทำร่วมกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จะได้ไม่ต้องเจ็บบ่อย ๆ ไง

💗 8. รักษาโรคริดสีดวงทวาร
ไม่เพียงแต่ผลสละเท่านั้นที่ดีต่อสุขภาพ แต่ใบของสละก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยการนำใบสละมาต้มกับน้ำ และผสมกับกับน้ำผึ้งดื่มวันละ 3 ครั้ง ก็จะช่วยให้อาการริดสีดวงทวารบรรเทาลงได้

ที่มา : https://health.kapook.com/view124937.html

วิธีทำสละลอยแก้ว



➽สละลอยแก้ว



⏩ของหวานดับร้อนเย็นชื่นใจ⏪


ส่วนผสม

➯สละ 500 กรัม
➯น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
➯เกลือป่น 1 ช้อนชา
➯น้ำร้อน 1 ถ้วย
➯น้ำดอกไม้สด 1/2 ถ้วย

วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ปอกเปลือกสละ ใช้มีดคว้านเมล็ดออก เสร็จแล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือรอไว






2. ทำน้ำเชื่อมโดยตั้งหม้อบนไฟร้อนปานกลาง ใส่น้ำดอกไม้สด และน้ำตาล คนให้น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงนำไปกรองเอาเศษ สิ่งสกปรกออก แล้วจึงนำไปเคี่ยวต่อจนเป็นน้ำเชื่อมข้นๆ ปิดไฟทิ้งไว้ให้เย็น


  


3. ตักสละใส่หม้อน้ำเชื่อมใส่เกลือลง ในน้ำเชื่อมเล็กน้อย คนให้เข้ากัน


   



4. ตักสละและน้ำเชื่อมลงในถ้วยเสริฟ ใส่น้ำแข็งทุบละเอียด



🔺เคล็ดไม่ลับ🔻

1.ใช้กระดาษปูรองก่อนแกะสละทุกครั้งเพราะหนามอ่อนและขนของเปลือกสละจะร่วงง่ายมาก

2.ใช้ถุงมือ (ถ้ามี) หรือถุงพลาสติกเด็ดสละออกจากพวงเป็นลูก ๆ นำใส่ตะกร้าใบเล็กพักไว้

3.เขย่าตะกร้าให้หนามหล่นออกให้ได้มากที่สุด

4.จับปลายของผลสละทั้งสองด้าน จากนั้นให้ทำการบิดออกเท่านี้ก็ได้ทานผลสละเรียบร้อย







ที่มา ; https://food.mthai.com/dessert/123383.html
          http://kanomkhun-m.blogspot.com/2011/05/blog-post.html










การแปรรูปสละ

สละอบแห้ง การแปรรูปสละนอกจากสละลอยแก้วแล้วยังมีการแปรรูปอย่างอื่นอีก คือ "สละอบแห้ง" เคล็ดลับในการทำผลไม้อบแห้ง 1. สละที่...